ชะนีมือดำ/Agile Gibbon (Hylobates agilis)

สิ่งที่น่าสนใจ :

ชะนีมือดำมีรูปร่างสีสันคล้ายชะนีมือขาวมาก ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะไม่มีการเปลี่ยนสี เช่นถ้าเกิดมามีสีดำก็จะมีสีดำไปตลอด ทั้งสองเพศอาจมีสีขาวหรือสีดำก็ได้ ชะนีมือดำไม่มีวงขาวรอบใบหน้า แต่บางตัวก็อาจมีเป็นรอยขาวจางๆ และที่คิ้วเป็นสีขาว ตัวผู้มีแก้มและคิ้วสีขาว ตัวเมียมีคิ้วสีขาวอย่างเดียว

ถิ่นอาศัย :

พบทางภาคใต้ของประเทศไทย มาเลเซีย สุมาตรา และบอร์เนียว ป่าดงดิบชื้อแถบมาลายูพบเฉพาะด้านตะวันออก และด้านใต้ ของแม่น้ำเทพา ทางภาคใต้ตอนล่างสุดของแม่น้ำ พบชุกชุมในบางพื้นที่

อาหาร :

ใบไม้ ผลไม้สุก แมลง และแมลงต่าง ๆ

พฤติกรรม :

ชอบห้อยโหนไปตามกิ่งไม้ ใช้ชีวิตเกือบทั้งวันอยู่บนต้นไม้สูง เวลากินน้ำใช้หลังนิ้วแตะน้ำและยกดูด ชอบร้องและผึ่งแดดเวลาเช้าตรู่บนกิ่งไม้ เวลาอากาศร้อนจัดจะลงมาจากต้นไม้สูงเพื่อหลบแดด เวลาตกใจจะเหวี่ยงตัวโหนไปตามกิ่งไม้อย่างรวดเร็ว เหยี่ยวและงูเหลือมเป็นศัตรูสำคัญของชะนี ส่งเสียงร้องเพื่อบอกอนาเขต

อนุกรมวิธาน

CLASS : Mammalia

ORDER : Primates

FAMILY : Hylobatidae

GENUS : Hylobates

SPECIES : Agile Gibbon (Hylobates agilis)

อายุเฉลี่ย :

อายุยืนถึง 30 ปี

วัยเจริญพันธุ์ :

ชะนีผสมพันธุ์ตอนอายุ 7-8 ปี ตั้งท้องประมาณ 8 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกชะนีจะหย่านมเมื่ออายุ 4-7 เดือน จนอายุ 2 ปีจะแยกไปหากินเอง

ข้อมูลอ้างอิง :

รายละเอียดเพิ่มเติม

สถานที่ชม :


แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 11 เมษายน 2560